หัวข้อ   “ เสียงสะท้อนคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับผล 2 ปี นโยบายประชานิยม ”
 
ผ่าน 2 ปี คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายประชานิยม ติงทำของแพง รถติด ก่อหนี้
ชี้นโยบายประชานิยมเอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “เสียงสะท้อนคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล
กับผล 2 ปี นโยบายประชานิยม”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปี
ขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,163 คน พบว่า
ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 56.8 เห็นว่านโยบายประชานิยม
เด่นๆ ที่หาเสียงไว้ของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เกิดประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติ
ขณะที่ร้อยละ 43.2 เห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ โดยนโยบายที่เกิด
ประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุดคือ จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น
15,000 บาท
ขณะที่นโยบายที่เกิดประโยชน์น้อยที่สุดคือ คืนภาษีให้ผู้ซื้อ
รถคันแรก
 
                 ทั้งนี้เมื่อมองนโยบายประชานิยมที่เกิดประโยชน์กับตัว
ผู้ตอบเองพบว่า ในภาพรวมร้อยละ 58.2 ระบุว่า “ไม่ได้ประโยชน์เลย”

ขณะที่ร้อยละ 34.9 ระบุว่า “ได้ประโยชน์” โดยนโยบายประชานิยมที่ตัว
ผู้ตอบเองเห็นว่าได้ประโยชน์มากที่สุดคือ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

ขณะที่นโยบายที่ได้ประโยชน์กับตัวเองน้อยที่สุดคือ จำนำข้าวเปลือกเจ้า
ตันละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท
 
                 ส่วนความเห็นต่อนโยบายประชานิยมเด่นๆ ของรัฐบาลเกิดผลกระทบอย่างไรกับตัวผู้ตอบหรือต่อ
สังคม พบว่า อันดับแรกคือข้าวของแพงขึ้นกว่าเดิม (ร้อยละ 77.5)
รองลงมาคือ การจราจรติดขัดมากขึ้น (ร้อยละ
64.1) และก่อหนี้ให้กับประชาชน (ร้อยละ 54.5)  ขณะที่ร้อยละ 6.9 ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
 
                 เมื่อถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการลดราคาจำนำข้าวจาก 15,000 บาทเหลือ 12,000 บาท
ต่อตัน พบว่า ร้อยละ 50.4 ไม่เห็นด้วยเพราะจะเกิดความเสียหายแก่ชาวนา
ขณะที่ร้อยละ 19.8 เห็นด้วยเพราะจะ
ช่วยลดการขาดทุนของรัฐบาล และร้อยละ 29.8 ไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่านโยบายประชานิยมของรัฐบาลเอื้อให้เกิดการทุจริตมากน้อยเพียงใด ร้อยละ
69.7 ระบุว่า มากถึงมากที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ 30.3 ระบุว่า น้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความคิดเห็นต่อนโยบายประชานิยมเด่นๆ ที่หาเสียงไว้ ของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์

นโยบาย
ผลต่อประเทศชาติ
 
ผลต่อตัวผู้ตอบ
เกิด
ประโยชน์
( ร้อยละ)
ไม่เเกิด
ประโยชน์
( ร้อยละ)
ได้
ประโยชน์
( ร้อยละ)
ไม่ได้
ประโยชน์
( ร้อยละ)
เสีย
ประโยชน์
( ร้อยละ)
จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น
15,000 บาท
70.2
29.8
42.8
54.4
2.8
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
64.1
35.9
42.9
49.5
7.6
คืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อนให้ผู้ซื้อ
บ้านหลังแรก
60.9
39.1
37.6
58.5
3.9
เครดิตการ์ดพลังงาน เพื่อเติมน้ำมัน
หรือก๊าซ NGV สำหรับคนขับแท๊กซี่
สามล้อ รถตู้ และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
55.6
44.4
29.2
66.1
4.7
จำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000
บาท และข้าวหอมมะลิตันละ 20,000
บาท
52.5
47.5
28.1
60.8
11.1
แจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน
50.0
50.0
30.4
58.9
10.7
คืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก
44.0
56.0
33.4
59.2
7.4
เฉลี่ยรวม
56.8
43.2
34.9
58.2
6.9
 
 
             2. ความเห็นต่อนโยบายประชานิยมข้างต้น เกิดผลกระทบอย่างไรกับตัวผู้ตอบหรือต่อสังคม
                 (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ข้าวของแพงขึ้นกว่าเดิม
77.5
การจราจรติดขัดมากขึ้น
64.1
การก่อหนี้ให้กับประชาชน
54.5
การทุจริตคอร์รัปชั่น
47.9
การชุมนุมและเกิดความแตกแยกทางสังคม
35.5
ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
6.9
 
 
             3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการลดราคาจำนำข้าวจาก 15,000 บาท
                 เหลือ 12,000 บาทต่อตัน”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะจะช่วยลดการขาดทุนของรัฐบาล
19.8
ไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดความเสียหายแก่ชาวนา
50.4
ไม่แน่ใจ
29.8
 
 
             4. นโยบายประชานิยมของรัฐบาลเอื้อให้เกิดการทุจริตมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 25.0 แล ะมากร้อยละ 44.7)
69.7
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 25.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.8)
30.3
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อนโยบายประชานิยมเด่นๆ ที่รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์หาเสียงไว้
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
20 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองสาน ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางเขน
บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง วัฒนา สะพานสูง
สาทร และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,163 คน เป็นชายร้อยละ
49.8 และหญิงร้อยละ 50.2

 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดย
เป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  21 - 24 มิถุนายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 มิถุนายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
579
49.8
             หญิง
584
50.2
รวม
1,163
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
298
25.6
             26 – 35 ปี
304
26.1
             36 – 45 ปี
274
23.6
             46 ปีขึ้นไป
287
24.7
รวม
1,163
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
637
54.7
             ปริญญาตรี
446
38.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
80
6.9
รวม
1,163
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
67
5.8
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
393
33.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
241
20.7
             เจ้าของกิจการ
71
6.1
             รับจ้างทั่วไป
181
15.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
74
6.4
             นักศึกษา
116
10.0
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
20
1.6
รวม
1,163
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776